000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > จานเสียง กับ CD ?.ไหนเสียงดีกว่า
วันที่ : 31/10/2015
15,869 views

จานเสียง กับ CD ?.ไหนเสียงดีกว่า

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

เป็นที่ถกเถียงกันมากว่าในอัลบั้มเพลงเดียวกันฟังจาก จานเสียง กับฟังจาก CD ไหนเสียงดีกว่า เช่นเดียวกัน? มากกว่า 6 ? 7 ครั้งที่ผมถูกถามปัญหาเดียวกันนี้จากแฟนครับผู้อ่านเมื่อเจอตัวผมในงานบรรยายทั้งหลาย

จริงๆแล้วคำถามนี้ออกจะ ?ผิดกาลเทศะ? เหมือนเอามะม่วงเทียบกับแอปเปิ้ล?? คำว่า เทียบกัน ผู้ถามมักนำ เสียง ที่ฟังจาก แผ่นจานเสียง ด้วย เครื่องเล่นจานเสียง กับอัลบั้มเพลงเก่าๆ ในยุคเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว (บางอัลบั้มกว่า 40 ปีก็มี) เทียบกับฟังจากแผ่น CD ด้วย เครื่องเล่น CD ที่ตัวมาสเตอร์ถ่ายทอดจากมาสเตอร์เดิมที่เคย ใช้ทำแผ่นเสียง (อาจไม่ใช่มาสเตอร์แรกสุด เป็นมาสเตอร์ที่ 2 ที่ก๊อบปี้จากมาสเตอร์ที่ 1)

การจะตอบคำถามนี้ได้อย่างเป็นกลาง ชัดเจนที่สุดเราต้องดูความเป็นมาเป็นไปของทั้ง 2 ยุคแห่งการเล่นแผ่น

แผ่นเสียง

  1. อัลบั้มเกือบทั้งหมดบันทึกจากแม่เทป (มาสเตอร์) ยุคเก่ากว่า 40 ปีขึ้นไปก่อนจะถึงยุคดิจิตอล เป็นการบันทึกลงเทปแบบม้วนเปิด (OPEN REEL) ความเร็ว 30 กว่า (ไม่แน่ใจว่าเป็นนิ้วหรือเซ็นติเมตร) ต่อวินาที บันทึกแบบ อนาลอก
  2. ขณะทำการบันทึกเสียง ช่างเสียงจะ ปรับแต่งสุ้มเสียง เพื่อชดเชยข้อด้อยของระบบแผ่นเสียงไว้ล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นเรื่องอัตราส่วน, สัญญาณต่อเสียงกวน (S/N), กดหรือควบคุมการสวิงเสียงจากค่อยสุดไปดังสุดเอาไว้ (COMPRESSION), การใช้วงจร Dolby A เพื่อถ่างค่า S/N ให้สูงขึ้น, ลดการสวิงทุ้มลึกโดยบันทึกเป็นโมโนในช่วงความถี่นี้เพื่อไม่ให้หัวเข็มแผ่นเสียงต้องถูก ?ร่องจานเสียง? ตบแรงเกินไปจนอาจตกร่องได้(บ่อยครั้งต้องกรองความถี่ต่ำๆทิ้งไปบ้าง) ไม่ใส่ความกังวานอย่างเต็มที่ตามที่ควรจะเป็น เนื่องจากระบบของหัวเข็มจะเหมือนเร้าให้ความกังวานมากกว่าปกติอยู่แล้ว
  3. ในการฟังแผ่นเสียง สัญญาณจากหัวเข็มจะต้องผ่านภาคปรีแผ่นเสียง (PHONO EQUALIZER) ที่จะปรับความถี่ตอบสนองเป็นตรงข้ามกับสิ่งที่บันทึกมา เพื่อคืนความถี่ตอบสนองให้ราบเรียบตามธรรมชาติ ที่ต้องจงใจปรับแต่งความถี่ตอบสนองไว้ก่อนบันทึกลงแผ่นก็เพื่อช่วยเสียงรบกวนต่างๆจากแผ่นเสียง (SCRATCH NOISE)
    วงจรปรีแผ่นเสียงมักเพิ่มวงจรกรองความถี่ต่ำสุดทิ้ง (SUBSONIC FILTER)เช่นต่ำกว่า 15-20Hzทิ้ง และมักตอบสนองความถี่สูงๆจำกัดเช่น 18 KHz ? 20 KHz เพื่อลดเสียงซ่าจากแผ่น
  4. เครื่องเล่นจานเสียงเองก็มีผลต่อเสียงและมิติเสียงที่ได้อย่างยิ่งไล่ตั้งแต่ วัสดุปลายเข็ม, วัสดุตัวก้านเข็ม, กะโหลกที่ครอบ, กลไกขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก (AMATURE), ก้านอาร์ม, การตั้งอาร์มหนัก-เบา, เอียงซ้าย-ขวา, เชิด-ก้มอาร์ม, ตัวแผ่นหมุน (PLATTER), ตัวทับบนแผ่น (STABILIZER), ระบบการหมุน (แบบแกนมอเตอร์หมุนแผ่นหมุนตรง (DIRECT? DRIVE) หรือแบบหมุนผ่านลูกยาง (DRUM), หรือสายพาน (BELT DRIVE), มอเตอร์ที่ใช้ (AC หรือ DC), ระบบการขับเคลื่อนอาร์ม (แบบสวิงหรือแบบวิ่งตรงตั้งฉากกับทิศทางรัศมีแผ่น (LINEAR DRIVE), ระบบกันสะเทือน (SUSPENSION), ระบบลอยตัวของอาร์มและการลดการสั่น (DAMPING), ตัวแท่นเครื่อง (หนักแน่นมั่นคงแค่ไหน)? จะเห็นว่าทุกจุดทุกตารางนิ้วก็ว่าได้ของตัวเครื่องเล่นแผ่นเสียง (และหัว) ล้วนมีผลต่อคุณภาพเสียง, มิติเสียงอย่างมากจนเกือบเป็นไปไม่ได้เลยที่ใครสักคนจะได้ฟังตัวตนเสียงจริงตามที่ควรจะเป็น พูดง่ายๆว่ามีแต่การแต่งเติมเสริมแต่ง ขนาดว่าเจ้าของผลงานและเป็นผู้ทำมาสเตอร์เองมาฟังจากแผ่นด้วยหัวเข็มและเครื่องเล่นแผ่นเสียงระดับไฮเอนด์ยังอุทานว่า มีอะไรบางอย่างที่แถมออกมาซึ่งเขาไม่ได้บันทึกไว้แบบนั้น

ตัวแผ่นเสียงเองก็มีผลอย่างมากต่อเสียงที่ได้ (วัสดุที่เอามาทำ, การปั้มแผ่น, น้ำหนักของแผ่น, การบิดโค้งของแผ่น, รูกลางแผ่น, การตั้งแขนแผ่นเสียง, การสั่นสะเทือนจากตัวมันเองและจากภายนอก

สรุปก็คือ เสียงจากแผ่นเสียงยากมากที่จะตรงกับเสียงมาสเตอร์ (พูดให้ชัดๆ ก็คือเสียงจริงๆ ที่นักนักดนตรี, นักร้องเล่น (ร้อง)

เป็นเรื่องตลกมากที่แผ่นเสียงอัลบั้มเพลงฮิตๆ ดังๆ เชื่อไหมว่าที่ห้องทำมาสเตอร์เขาใช้เครื่องเล่นแผ่นเสียง (หัวเข็ม) ราคาถูกๆเช่น PHILIPS, BSR ราคา 800 บาท (แปดร้อยบาท สมัย 40 ปีที่แล้ว) ในการฟังทดสอบและปรับแต่งมาสเตอร์เอาใจเครื่องเล่นระดับนี้? เนื่องจากเป็นเครื่องเล่น (หัวเข็ม) ที่ชาวบ้านทั่วไปมีปัญญาซื้อมาเล่นได้ ไม่ได้ใช้เครื่องเล่นแผ่นเสียงหรือหัวเข็มพิสดารพันลึกอะไรเลยเหมือนที่นักเล่นเงินถังใช้ที่ราคาหลายๆ แสนบาท เป็นล้านๆ บาทก็มี หัวเข็มเป็นหมื่น เป็นแสนๆก็มี พอเสียงไม่พ้องจองกับที่เขาตกแต่งมา (สำหรับเครื่องเล่นราคาแบกับดิน) ก็ดิ้นรนหาปรี, เพาเวอร์, ลำโพง, สาย, หัวเข็ม, อาร์ม มาลองผิดลองถูก จับแพะชนแกะให้ถูกหูหรือที่ตัวเองคิดว่าควรจะเป็น (ซึ่งแน่นอนว่าต่างจากมาสเตอร์ที่เอามาทำแผ่นนั้น)

?????? เพื่อนของผมเล่าให้ฟังว่าเคยฟังเครื่องเล่นแผ่นเสียงระบบแสงเลเซอร์ (LASER TURNTABLE) ที่ใช้ลำแสงในการอ่านสัญญาณจากร่องแผ่นเสียงซึ่งถือได้ว่าตัดองค์ประกอบในการแต้มสีสันเกินจริงของเครื่องเล่นแผ่นเสียง และหัวเข็ม) ออกหมด เหลือแต่สิ่งที่ถ่ายทอดจากมาสเตอร์ที่เอามาทำแผ่นเสียงนั้น (40 ปีที่แล้วเครื่องนี้ราคาประมาณ 800,000 บาท? ปัจจุบันที่ญี่ปุ่นพอซื้อได้ที่ 300,000กว่าบาท)

ปารกฎว่าเสียง "จืด" สนิท แทบฟังไม่ได้ ขาดเสน่ห์ เขาฟังแล้วตกใจ (พูดง่ายๆเหมือนกินอาหารที่ไม่ได้ปรุงรสมา (ด้วยเครื่องเล่นแผ่นเสียง (หัวเข็ม)

ระบบแผ่น CD

?????? พูดถึงเครื่องเล่น CD ยุคปัจจุบันที่ทำมาได้ดีมาก ทุกอย่างลงตัว (ไม่ได้หมายความว่าต้องราคาหลายๆ แสนบาทอย่างเดียว หมื่นกว่าบาทก็เยี่ยมแล้ว) แน่นอนว่าย่อมปลอดจาก ?ผงชูรส? ที่เกิดจากระบบแผ่นเสียง (และหัวเข็ม) และภาคปรีแผ่นเสียงอาจไม่บริสุทธิ์ 100 % แต่ก็มากกว่าระบบแผ่นเสียงมาก (ต้องยอมรับว่าเครื่องเล่น CD เองก็ยังไม่พ้นคำว่า ?มีบุคลิกเสียงส่วนตัว?แต่เทียบกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงและหัวเข็มแล้วเหมือนผ้าขาวเกือบสนิทกับผ้าเปื้อนสีกันเลย)

?????? แค่นี้ก็คงไม่ต้องบอกแล้วว่า ถ้าค่ายเพลงมักง่ายนำมาสเตอร์ที่ใช้ในการทำแผ่นเสียงมาเป็นมาสเตอร์ในการทำแผ่น CD มันจะออกมาทะแม่งขนาดไหน การนำแผ่น CD อัลบั้มนั้นมาเทียบกับแผ่นเสียงจึงเป็นสิ่งที่ไร้สาระอย่างยิ่ง

ยุคใครยุคมัน

?????? อย่าลืมว่ามาสเตอร์ที่บันทึกสำหรับแผ่นเสียงในยุค ?เครื่องเสียง? เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ย่อมต้องมีการชดเชยและประนีประนอมกับ ?ความสามารถ? ของเครื่องเสียงในยุค 40 ปีโน้น เช่นควบคุมการสวิงดัง - ค่อย (เพราะภาคขยายเสียงหลอดยังมีกำลังขับต่ำ 3-15 W.RMS/ข้าง) ภาคขยายให้การตอบสนองความถี่เสียงไม่กว้าง (BANDWIDTH) แคบอยู่ จะทำมาสเตอร์ให้เสียงลงได้ต่ำลึกหรือสูงปรี๊ดไปทำไม ลำโพงที่ใช้ก็มีข้อจำกัดเดียวกันนี้ สมัยโน้นไม่มีใครใส่ใจเรื่องเวทีเสียง, มิติเสียงลทรวดทรงเสียง, ตำแหน่งชิ้นดนตรี, สูง-ต่ำ ลึก ไล่เป็นลำดับชั้นจากหน้าไปหลังเวที รายละเอียดหยุมหยิมพูดง่ายๆว่าระบบเล่นไม่รองรับ ก็เลยทำมาสเตอร์มาแบบไม่เต็มที่ พอเอามาสเตอร์นี้มาทำCD ก็เลยแสดงศักยภาพของระบบCDได้ไม่เต็มที่ ฟังเผินๆ เหมือนพอๆ กับฟังจากแผ่นเสียง (อัลบั้มเดียวกัน) ยิ่งถ้าไปเจอกับระบบเล่นแผ่น (เครื่องเล่น-หัวเข็ม) ที่ยกเสียแต่งเสียง ชดเชยไว้ (เพราะมาเกิดในยุคที่เครื่องเสียงส่วนอื่นๆตอบสนองได้เต็มที่กว่าในอดีตมาก) ฟังแล้วก็จะหลงคิดว่าฟังจากแผ่นเสียง เสียงครบกว่า

?????? แต่ถ้าผู้ทำแผ่น CD เข้าใจประเด็นนี้ ตีบทแตก นำมาสเตอร์เก่า (เพื่อแผ่นเสียง) นั้นมาชุบชีวิตใหม่เพื่อการฟังในรูป CD กับเครื่องเสียงยุคใหม่ที่ศักยภาพเต็มขั้นกว่า ไม่ต้องบอกก็คงตอบได้ว่าเสียงจาก CD สมควรจะดีกว่าทุกกรณี

?????? อย่าลืมว่า ระบบการอ่านแผ่น การปั้มแผ่นของ CD เป็นระบบแสงทั้งหมด ขณะที่ระบบแผ่นเสียงเป็นระบบกลไกย่อมไม่มีทางจะตอบสนองได้มั่นคง ละเอียดยิบ หมดจด เที่ยงตรงเท่าระบบแสง (ที่ไร้กลไกนอกจากการหมุนตัวแผ่น)?

?????? แน่จริงก็ลองเอามาสเตอร์ที่ทำสำหรับระบบ CD โดยบันทึกกันอย่างเต็มเกย์เลยทุกรูปแบบ แล้วเอามาสเตอร์เดียวกันนี้ไปทำแผ่นเสียงโดยตรงไม่มีการแต่งช่วยใดๆ ลดทอนใดๆ เชื่อว่าไม่น่าจะมีเครื่องเล่นแผ่นเสียง (หัวเข็ม) ใดๆ ในโลกไม่ตกม้าตาย หัวเข็มไม่กระโดดกระเด็น ข้ามร่อง แค่นี้ก็ยืนยันได้แล้วว่า ?ระบบ? CDเหนือกว่าแน่นอน

บางทีตัวระบบCDก็ดีเกินไป

?????? คงไม่มีใครข้องใจว่าระบบ CD (ดิจิตอล) สามารถเก็บและถ่ายทอดสัญญาณเสียงได้ครบกว่า สวิงจากค่อยสุดไปดังสุด (DYNAMIC RANGE) กว้างกว่ามาก ความถี่ตอบสนอง (FREQUENCY RESPONSE) ได้กว้างกว่าคือได้ถึง 20 Hz ถึง 20 KHz แบบว่าราบรื่นตลอดไม่มีตก บางอัลบั้มวัดจริงๆ ได้ 12 Hz ถึง 28 KHz ก็ยังมี ขณะที่เสียงสะอาดปลอดเสียงกวน (SIGNAL TO NOISE RATIO) ทะลุ 80 Db (เงียบสงัดสนิท) ความเพี้ยนต่ำสุด (THD,IMD) การแยกสเตอริโอ (STEREO SEPARATION)? มากกว่า 80 dB ซึ่งสเปคเหล่านี้?? ระบบแผ่นเสียงชิดซ้าย ไม่มีทางเทียบได้เลย

?????? แต่ข้อดีและได้เปรียบของระบบ CD บางครั้งก็กลับเป็นตัวสร้างปัญหา โดยมันดีเกินไปจนไปฟ้องความไม่แน่จริง ไม่สมบูรณ์ของภาคปรี, ภาคเพาเวอร์แอมป์, ลำโพง, อันทำให้สิ่งเหล่านี้กลับเป็นตัวแถมความเพี้ยน เสียงที่ไม่น่าฟังออกมา (ไม่ใช่ระบบ CD เองเข้าใจตรงนี้ไว้ก่อน) รวมทั้งกระตุ้นความก้องของห้องให้อ่อนไหวมากขึ้น ฟ้องการติดตั้งชุด (ที่ไม่ถูกต้อง) อย่างจะแจ้งมากขึ้น ระบบไฟบ้านที่มีปัญหาก็ถูกตีแผ่หมดจดชัดแจ้งขึ้น (เช่น เดินสายไฟ AC ในห้องย้อนทิศ, ขันขั้วไฟสาย AC ตามแผงไฟ, คัตเอาท์ไม่แน่น ฯลฯ) แค่เรื่องการติดตั้งชุดไม่ระดับเทพก็พูดกันได้เป็นบทความยาวอีกบทหนึ่ง ซึ่งกรณีระบบแผ่นเสียงอาจจะช่วย ?กลบเกลื่อน? ได้บ้างในบางลักษณะไม่ฟ้องอย่างล้อนจ้อนเท่าระบบ CD

ศึกในไม่พอมีศึกนอกด้วย

??? ???ต้องยอมรับว่าปัจจุบันพวกเรามีชีวิตอยู่กับระบบสื่อสารอย่างเต็มตัว, สลัดไม่ออกไม่ว่าการใช้ PC, โน๊ตบุ้ค, TABLET (IPAD), เครื่องเล่นพกพา (ดิจิตอล), โทรศัพท์มือถือ, จอ LCD/PLASMA, รีโมทไร้สาย, ระบบเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทั้งแบบสาย (LAN) และไร้สาย (WIFI), วิทยุชุมชนเป็นร้อยทั่วกรุง, สถานีทวน / ส่งทอดสัญญาณมือถือ (CELL SITE) ทั่วกรุง, HOT SPOT WIFI ทั่วกรุงเป็นหมื่นๆ จุด, นาฬิกาไฟฟ้า (ควอทซ์ทั้งข้อมือ, ตั้งโต๊ะ, แขวนผนัง), กล้องถ่ยรูป-วีดิโอดิจิตอล ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนบั่นทอนคุณภาพเสียงลงได้อย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งผลของมันล้วนป่วนเครื่องเสียง ?ทุกชิ้น? (แม้แต่ที่ทำงานแบบอนาลอก,สาย, ลำโพง) ยิ่งถ้าเป็นระบบดิจิตอลอย่างเครื่องเล่น CD (DVD,BLURAY) ยิ่งมีผลฟังออกค่อนข้างชัดบางครั้งแบบว่า ?คนละเรื่องเลย?

?????? นอกจากนั้น เครื่องเล่น CD ( DVD ,BLURAY) รุ่นใหม่ๆ ล่าสุดที่วงจรประมวณผลและแปลงสัญญาณดิจิตอลมีความถี่สูงขึ้นมากๆยิ่งอ่อนไหวต่อคลื่นความถี่สูงทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วอย่างยิ่ง เท่านั้นไม่พอบางครั้งตัวเครื่องเล่น? CD เองก็ส่งคลื่นความถี่สูง (เช่นจากการUPSAMPLEสูงๆ) แพร่ออกไป? ป่วนภาคขยายอนาลอกได้แบบเหลือเชื่อเลย

สรุป

จากเหตุและผลที่ผมวิเคราะห์, แยกแยะ, ตีแผ่อย่างลึกซึ้งที่สุดนี้ผู้อ่านก็คงตอบเองได้ว่า ระหว่างแผ่นเสียง กับ CD ใครเสียงดีกว่ากันแน่ซึ่งถ้าทำทุกอย่างถูกต้อง พิถีพิถันหมด ผู้ชนะก็คงไม่พ้น CD

เลิกเล่นอย่าง ?ถอยหลังเข้าคลอง? ด้วยการหนีปัญหาไปเล่นแผ่นเสียงอย่างที่มีความพยายามจะผลักดันกันหนักหนาอ้างว่า ?เล่นไฮเอนด์ต้องแผ่นเสียง?? ผมภาวนาว่าให้มีการแข่งขันแบบ ?ตัดเชือก? กันเลยระหว่างแผ่นเสียงกับCD โดยบันทึกเสียงจากเครื่องดนตรีสด (ไล่ทีละชิ้นหรือเป็นวงก็ได้) โดยส่วนหนึ่งทำมาสเตอร์ (แต่งเสียง) สำหรับการทำแผ่นเสียง อีกส่วนทำอีกมาสเตอร์สำหรับทำแผ่นCD ปรับแต่งมาสเตอร์ทั้ง 2 ให้ฟังแล้ว (กับเครื่องเสียงชุดเดียวกัน ภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน มีการป้องกันปัญหาคลื่นRFและ ด้านอคูสติก) เสียงออกมาใกล้เคียงกับการแสดงสดนั้นมากที่สุดแล้วนำสิ่งที่ได้ยินสุดท้ายมาเทียบกัน ซึ่งผม ค่อนข้างมั่นใจว่า CD จะชนะใจคนฟังมากกว่า

?????? มีแฟนคลับกระซิบบอกว่าแผ่นเสียงอัลบั้มเดียวกัน ปกเหมือนกัน แผ่นเก่าซื้อเมื่อ 30 ปีที่แล้วเสียงดีกว่าแผ่นใหม่ที่เพิ่งซื้อ บ้างก็ว่าเผลอๆบางอัลบั้มหามาสเตอร์ไม่ได้อีก ก็ก๊อปปี้จากแผ่น CD นี่แหละแล้วตกแต่งเสียงบางอย่างปั้มเป็นแผ่นเสียงขายเฉยเลย

?????? อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวผมก็ยังชื่นชมกับระบบจานเสียงอันเป็นภูมิปัญญาที่ใสซื่อแต่ลึกซึ้งเกินคาดของผู้ประดิษฐ์ มันเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึง, จับต้องได้, ทดลองดูได้เองในทุกแง่มุม ได้เรียนรู้และเพลิดเพลิน คุณสั่งมันได้มันอาจไม่ให้เสียงที่เที่ยงตรงถูกต้องแต่มันก็มีทั้งเสน่ห์ของการฟังและการเล่น มันคืนอารมณ์แห่งอดีตให้คุณย้อนอดีตได้ มันมีรูปร่าง นวัตกรรมที่เป็นงานทั้งศาสตร์และศิลป์ ครับ ถ้าผมมีเงินเหลือก็คงซื้อมาเก็บไว้แน่ๆเช่นเดียวกัน

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459